้hrm hrd หน้าที่

HRM vs HRD หน้าที่และความแตกต่าง

ปัจจุบันนั้นมีธุรกิจมากมายเกิดขึ้นในสังคมของเรา เมื่อธุรกิจของเรานั้นมีการขยับขยายจนเป็นองค์กร บริษัทห้างร้านต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ย่อมมีเรื่องของคนหรือบุคลากร ที่เพิ่มขึ้นตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ บุคลากรที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะมาช่วยให้บริษัท องค์กร นั้นทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านธุรกิจ และบริการต่างๆ

การที่มี คน หรือ บุคลากรเพิ่มขึ้นนั้นจะต้องมีแผนกผู้ควบคุมดูแลความเป็นอยู่ของบุคลากร หรือ คนในองค์กร ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของแผนกจัดการทรัพยากรบุคคล หรือที่เรารู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า Human Resource Management (HRM) และในแผนกนี้ ก็จะมีอีกแผนกนึงซึ่งเป็นแผนกที่ดูแลเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และจัดหาหลักสูตรต่างๆ ให้กับบุคลากร และคนในองค์กรเพื่อเพิ่มความรู้ แผนกนี้จะมีชื่อว่า แผนก Human Resource Development (HRD)    

HRM

มีหน้าที่ในการจัดหาบุคลากร ทำเงินเดือน (Payroll) ค่าตอบแทน ตรวจสอบเวลาเข้าออก สิทธิลาพักร้อน ลากิจ ดูแลสวัสดิการต่างๆ นอกจากนี้ยังต้องเข้าถึงพนักงาน กลุ่มคน เพื่อที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้  รวมทั้งจะต้องเป็นคนวางแผนพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้บุคลากรขององค์กร

หากเปรียบแล้ว HRM จึงเป็นเหมือนหน่วยงานแรกที่พนักงานจะเข้าหาเมื่อมีคำถามหรือปัญหาใดๆ บางครั้งอาจจะก่อนหัวหน้างานโดยตรงเลยด้วยซ้ำ HRM จึงควรรู้จักพนักงานที่ตนดูแลเป็นอย่างดี จึงควรจะวางตัวอย่างดี สามารถเป็นที่พึ่งเผื่อให้พนักงานเข้าหาได้แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องวางตัวเป็นมืออาชีพในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้พนักงานเกรงใจด้วยเช่นกัน

ในบางองค์กรที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก นอกจากงานทั่วไปของ HRM แล้วจึงอาจมีการรับผิดชอบงานในขอบเขต HR อื่นๆเช่น การฝึกอบรม (HRD)ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Compensation Management: CM) หรือแม้แต่งานธุรการ(Admin) ต่างๆบ้าง

HRD

มีหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร รับผิดชอบในการจัดหาหลักสูตรอบรมต่างๆ กำหนดกลยุทธ์ และการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรเพื่อให้สอดรับกับกลยุทธ์ขององค์กร รวมถึงตอบสนองความต้องการของคน บุคลากร เพื่อที่จะได้บูสต์อัพสกิลความสามารถ และประสิทธิภาพการทำงาน สร้างผลลัพท์ที่ดีในแต่ละแผนก

 

ขอบเขตของ HRD เริ่มตั้งแต่การฝึกอบรมขนาดเล็กที่ดำเนินการได้เอง เช่น การปฐมนิเทศน์พนักงานใหม่ การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักงาน หัวข้อการฝึกอบรมประจำเดือน ไปจนถึงการฝึกอบรมที่มีความซับซ้อน หรืออาจต้องประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น ที่ปรึกษา หรือ วิทยากร ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้ามาอบรม หรือแม้แต่การจัดหาสถานที่และอำนวยความสะดวกหากมีการจัดนอกสถานที่

นอกเหนือจากการจัดการฝึกอบรมเป็นเรื่องๆ โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องเร่งด่วนนั้น  HRD ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆของบริษัท เพื่อวางแผนแนวทางการจัดการฝึกอบรม (Training roadmap) ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับแนวทางยุทธศาสตร์ขององค์กร และเป็นไปตามแผนการพัฒนาการเติบโตของบุคคล (IDP หรือ Individual development plan)

 

 


Uachard Montrivade (เอื้อชาติ มนต์ไตรเวศย์)
Public Relations Manager
CONSYNC Group

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

สามารถกด Like เพื่อติดตามบทความดีๆ ก่อนใคร และเป็นกำลังใจให้กับทีมงานค่ะ


This will close in 23 seconds