Engagement-Satisfaction-Survey

Engagement Satisfaction Survey กับ Customer Satisfaction Survey คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

Engagement Satisfaction Survey / Employee Engagement Survey คือ การสอบถามความเห็นและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เมื่อองค์กรทราบถึงสิ่งที่พนักงานต้องการ หรือ สิ่งที่องค์กรมอบให้และทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กร

ทั้งนี้การวัดความพึงพอใจของพนักงานมักใช้ Herzberg’s Motivation Theory model หรือ Two Factor Theory ของ Frederick Herzberg ที่ได้กำหนดปัจจัยของพนักงานเป็น 2 ด้าน เพื่อให้เกิดความสมดุลในการทำงานของพนักงานประกอบด้วย

1. ปัจจัยด้านแรงจูงใจ (Motivating Factors)  ซึ่งเป็นแรงจูงใจแบบการได้รับคุณค่า เช่น การได้รับการยกย่องชมเชย (Recognition), การได้ทำงานสนุกและท้าย, การได้รับการยอมรับในงาน

2. ปัจจัยด้านสุขวิทยา (Hygiene Factors) ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ได้รับกับหน้าที่การงาน เช่น เงินเดือน, ความมั่นคงของงาน, การเลื่อนตำแหน่ง, ผลตอบแทน, สภาพแวดล้อมในการทำงาน

Herzberg, Two Factor Theory-Frederick Herzberg

Customer Satisfaction Survey คือ การสอบถามความเห็นและความผูกพันของลูกค้าต่อธุรกิจ, ผลิตภัณฑ์, แบรนด์ โดยประสงค์ของการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้านั้น ผู้บริหารมักนำผลการศึกษามาใช้ประกอบในการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพและบริหารของผลิตภัณฑ์ รวมถึงศึกษาพฤติกรรม และความคาดหวังของลูกค้า เพื่อทราบผลการดำเนินงานในปัจจุบันของธุรกิจสามารถนำผลที่ได้มากำหนดจุดมุ่งหมายหรือตั้งเป้าหมายในอนาคต

ดังนั้นกล่าวคือ Engagement Satisfaction Survey จะเป็นการพูดจากคนภายในองค์กรที่บอกถึงองค์กรของตนเองที่จะสร้างความประทับใจให้กับตัวพนักงาน หรือ Employee experience สำหรับ  Customer Satisfaction Survey จะเป็นการพูดถึงคนภายนอกที่มองเข้าในองค์กรหรือธุรกิจที่ทำให้ลูกค้าประทับใจ หรือ Customer experience นั่นเอง

 

Engagement Satisfaction Survey กับ Customer Satisfaction Survey ควรทำแบบสำรวจเพื่อเจาะลึกในด้านไหนบ้าง?

 

แบบสำรวจ engagement survey

Engagement Satisfaction Survey จะเน้นด้านการสอบถามความเห็นและความผูกพันของพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมวัดด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านที่เกี่ยวข้องกับบริษัท (Company) เช่น ค่าจ้าง, สวัสดิการ, กิจกรรม
  • ด้านการทำงาน (Work) เช่น การบวนการทำงาน, ปริมาณงาน
  • ด้านหัวหน้างาน (Leader) เช่น การรับฟังขอเสนอแนะของหัวหน้างาน, การยกย่องชมเชยจากหัวหน้างาน
  • ด้านสถาพแวดล้อมในการทำงาน (Environment) เช่น อุปกรณ์การทำงาน, สิ่งอำนวยความสะดวก
  • ด้านความเห็นของพนักงาน (Employee) เช่น การได้รับฟังความเห็น, วัฒนธรรมองค์กร

Customer Satisfaction Survey จะเน้นด้านการสอบถามความเห็นและความผูกพันของลูกค้า โดยแยกออกเป็นด้านต่างๆ อาทิ

  • ด้านคุณภาพ (Quality) เช่น คุณภาพของสินค้า
  • ด้านราคาที่คุ้มค่า (Best Value) เช่น ความเหมาะสมทางราคา
  • ด้านประสิทธิภาพการใช้งาน (Efficiency) เช่น อายุการใช้งาน
  • ด้านบริการที่ประทับใจ (Delightful Service) เช่น การบริการก่อนการขาย และ หลังการขาย
  • ด้านเวลา (Ontime) เช่น การส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา

จะเห็นได้ว่าความแต่ต่างในการสำรวจแบบสอบถามจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่การตั้งคำถามสำหรับการสำรวจ (Survey) ทั้งนี้ทีมงาน Consync พร้อมจัดทำแบบสำรวจ Engagement Satisfaction Survey  ให้กับองค์กรของท่านผ่าน Platform Online และช่วยในการออกแบบคำถามเพื่อสำรวจด้วยทีมงานมืออาชีพ

 

แบบสำรวจ engagement online

 

ลิขสิทธิ์โดย CONSYNC Group

บทความที่เกี่ยวข้อง

สามารถกด Like เพื่อติดตามบทความดีๆ ก่อนใคร และเป็นกำลังใจให้กับทีมงานค่ะ


This will close in 23 seconds