wfh-mental-health

อาหารเพื่อสุขภาพจิตที่ดี ในช่วง WFH (Food for mental well-being)

บทความโดย  ดร.จุฑามาศ กลิ่นโซดา (Dr. Jutamat Klinsoda)
ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ (Department of Applied Microbiology) สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (Institute of Food Research and Product Development)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University)

 

ภายใต้สถานการณ์การระบาดใหม่ของโรคโควิด-19 หลายองค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกาศให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ การทำงานแบบ Work from home (WFH) เป็นมาตรการทำงานหลักเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งปัจจุบันการ WFH ทำให้การประชุมออนไลน์ สามารถจัดได้บ่อยขึ้น กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับหลายๆ คน เพราะไม่ต้องเสียเวลาการเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมที่สูงแบบเช่นสมัยก่อนการเกิดโรคโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินว่า การทำงานรูปแบบใหม่ส่งผลดี ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้มากขึ้น (Productivity) และเกิดการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Engagement)

อย่างไรก็ตาม การทำงานแบบ WFH ที่ไม่มีการพักเบรคที่แน่นอนและประชุมออนไลน์ที่มากเกินไปทำให้เกิดความเหนื่อยล้า (Fatigue) จากการทำงาน และสภาวะทางจิตใจ (Mental issue) [1] มีคนจำนวนมากเกิดความรู้สึกที่เศร้าหมองและหดหู่ เครียด นอนไม่หลับ หรือเกิดอาการ Burnout โดยไม่รู้ตัว

ในการรักษาอาการดังกล่าว การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพจิตที่ดี (Food for mental well-being) เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยการหลั่งสารสร้างความสุขได้ เพราะในอาหารประกอบด้วยสารอาหารและสารสื่อประสาท เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป สารสื่อประสาทจะส่งสัญญาณไปที่สมอง ทำให้กระตุ้นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับทั้งฮอร์โมนความสุขและฮอร์โมนความเครียด การรับประทานอาหารจึงสามารถช่วยลดหรือเพิ่มความเครียดได้ ดังนั้นวิธีการรักษาอาการเหนื่อยล้าจากการทำงานแบบ Work from home สามารถทำได้โดยการเลือกอาหารในกลุ่มต่อไปนี้ [2,3]

  1. อาหารลดอาการซึมเศร้า: อาหารหมัก โยเกิรต์ และโปรไบโอติก• อาหารกลุ่มนี้มีแบคทีเรียโปรไบโอติก มีประโยชน์ต่อร่างกายและจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง (Gut-brain axis) ช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้าได้
  2. อาหารสร้างอารมณ์ดี ลดความเครียด: ไขมันดีจากปลา ผักและผลไม้ ใยอาหารสูง• ปลา เป็นแหล่งของไขมันดี กลุ่มโอเมก้า 3  ช่วยบำรุงสมอง สามารถลดอาการซึมเศร้าและความเครียด
    • ผักและผลไม้ มีวิตามินสูง โดยเฉพาะวิตามินซี และแอนโทไซยานิน จะช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอ (cortisol) ที่เป็นฮอร์โมนความเครียด ที่ส่งผลให้ความจำ (working memory) ลดลง
    • ผักใบเขียว เป็นใยอาหาร ที่มีกรดโฟลิก ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างสารเซโรโทนิน (serotonin) และโยอาหารบางชนิด สามารถกระตุ้นการทำงานของแบคทีเรียโปรไบโอติก ส่งผลต่ออารมณ์และความสุข
  3. อาหารช่วยการนอนหลับ: ชาดอกคาโมมายล์ เชอรี่ ไข่• อาหารที่มีผลช่วยกระตุ้นฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin) ที่ช่วยให้การนอนหลับ

จะเห็นว่า การรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อสภาวะอารมณ์ (food for good mood) สามารถรักษาอาการของสภาวะทางจิตใจ และการนอนหลับพักผ่อน [3] แม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากการทำงาน ทุกคนสามารถใช้วิธีการเลือกรับประทานที่มีประโยชน์เพื่อปรับอารมณ์และจิตใจของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายและสามารถทำได้เอง

 


References:

[1] Kotera Y, Vione K.C. 2020. Review Psychological Impacts of the New Ways of Working (NWW): A Systematic Review. Int. J. Environ. Res. Public Health. 17: 5080.
[2] Firth J, Gangwisch JE, Borsini A, Wootton RE, Mayer EA. 2020. Food and mood: how do diet and nutrition affect mental wellbeing? BMJ. 369: 2382.
[3] Naidoo U. 2020. This Is Your Brain on Food: An Indispensible Guide to the Surprising Foods that Fight Depression, Anxiety, PTSD, OCD, ADHD, and More.  Little Brown and Company

 

ลิขสิทธิ์โดย CONSYNC GROUP

บทความที่เกี่ยวข้อง

สามารถกด Like เพื่อติดตามบทความดีๆ ก่อนใคร และเป็นกำลังใจให้กับทีมงานค่ะ


This will close in 23 seconds